แนวทางการศึกษาพัฒนาการของคำหลายความหมายหรือคำหลายหน้าที่ในภาษาไทย = Study of research methodology in the development of polysemes in Thai

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการศึกษาพัฒนาการของคำหลายความหมายหรือคำหลายหน้าที่ในภาษาไทยด้วยวิธีการทางภาษาศาสตร์ผู้เขียนได้รวบรวมตัวอย่างข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆ ที่ศึกษาพัฒนาการของคำในภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน พบว่ามี 3 รูปแบบ คือ (1) ลักษณะของข้อมูลภาษาที่แสดงให้เห็นพัฒนาการท...

Full description

Bibliographic Details
Main Author: Jaratjarungkiat, Sureenate
Other Authors: School of Humanities
Format: Journal Article
Language:other
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://hdl.handle.net/10356/148240
Description
Summary:บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการศึกษาพัฒนาการของคำหลายความหมายหรือคำหลายหน้าที่ในภาษาไทยด้วยวิธีการทางภาษาศาสตร์ผู้เขียนได้รวบรวมตัวอย่างข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆ ที่ศึกษาพัฒนาการของคำในภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน พบว่ามี 3 รูปแบบ คือ (1) ลักษณะของข้อมูลภาษาที่แสดงให้เห็นพัฒนาการทั้งเส้นทาง (2) ลักษณะของข้อมูลภาษาที่แสดงให้เห็นพัฒนาการเฉพาะช่วงต้นและช่วงกลาง และ (3) ลักษณะของข้อมูลภาษาที่แสดงให้เห็นพัฒนาการเฉพาะช่วงกลาง (และช่วงท้าย) ข้อมูลรูปแบบที่ (1)ทและ (2) เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาพัฒนาการของคำโดยตรง ส่วนข้อมูลแบบที่ (3) พบว่าไม่เอื้อต่อการศึกษาพัฒนาการของคำ จึงอาจใช้แนวคิดทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์ การวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากความถี่ที่ปรากฏในแต่ละสมัย และการศึกษาเปรียบเทียบกับภาษาในตระกูลไท มาช่วยสันนิษฐานพัฒนาการของคำ This study aims at reviewing linguistic research on Thai polysemes, focusing on the diachronic dimension. The data was collected from studies related to the development of Thai words from the Sukhothai period until the present. The findings reveal three patterns of the data: (1) a type of data which reveals the whole range of development, (2) a type of data which reveals only the beginning and intermediate stages of development, and (3) a type of data which reveals only the intermediate stage (and final stage) of development. The first two cases directly lead to conclusions of chronological development of a particular word, unlike the latter case which requires linguistic analysis such as grammaticalization, a frequency analysis of the presence of particular words in each period, and comparative linguistic analysis with Tai dialects to incorporate with the study.